เรามารู้จักวิธีการดูแลรักษาเครื่องดนตรีไทยกันเลยค่ะ
ตัวอย่างการดูแลรักษาเครื่องดนตรีไทยบางประเภท
๑. จะเข้ เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องดีด ที่ได้ดัดแปลงแก้ไขและพัฒนาการมาจากพิณโดยได้ประดิษฐ์ให้นั่งดีดได้อย่างสะดวก การดูแลรักษาทำได้โดยการเก็บไม้ดีดจะเข้ไว้ในที่ที่กำหนด
ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดและจัดวางให้เป็นระเบียบในที่ร่มเพื่อป้องกันมิให้ถูกแสงแดด น้ำ หรือได้รับความชื้น
๒.
ซอด้วงและซออู้ การดูแลรักษาทำได้โดยบิดลูกบิดซอเล็กน้อยเพื่อลดสาย เลื่อนหย่องหรือหมอนไว้ตอนบนของหน้ากะโหลกซอ แล้วแขวนเก็บคันชักให้แนบกับคันทวนซอ จัดวางไว้บนชั้นหรือใส่ตู้ หรือแขวนเรียงให้เป็นระเบียบ
๓. ระนาดเอกและระนาดทุ้ม การดูแลรักษาทำได้โดยปลดเชือกที่ร้อยผืนระนาดลงหนึ่งข้าง เพื่อลดน้ำหนักมิให้ตะขอหลุดง่าย หรือมิให้ผืนระนาดหย่อนหรือขาด เก็บไม้ตีระนาดไว้ในรางหรือนำไปวางในที่ที่กำหนดไว้ จัดวางระนาดให้เป็นระเบียบ
๔. กลองแขกและโทนรำมะนา การดูแลรักษาทำได้โดยนำไปเก็บในที่ที่กำหนดอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ระวังมิให้ถูกน้ำ ความชื้น และแสงแดด
๕. ขลุ่ยเพียงออและขลุ่ยหลีบ การดูแลรักษาทำได้โดยเก็บไว้ในที่ที่กำหนด วางอย่างเป็นระเบียบ หรือแขวนในที่ที่กำหนดหรือเก็บใส่ถุง ควรระวังมิให้ขลุ่ยได้รับความร้อนจากแสงแดดและผงฝุ่น
๓. ระนาดเอกและระนาดทุ้ม การดูแลรักษาทำได้โดยปลดเชือกที่ร้อยผืนระนาดลงหนึ่งข้าง เพื่อลดน้ำหนักมิให้ตะขอหลุดง่าย หรือมิให้ผืนระนาดหย่อนหรือขาด เก็บไม้ตีระนาดไว้ในรางหรือนำไปวางในที่ที่กำหนดไว้ จัดวางระนาดให้เป็นระเบียบ
๔. กลองแขกและโทนรำมะนา การดูแลรักษาทำได้โดยนำไปเก็บในที่ที่กำหนดอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ระวังมิให้ถูกน้ำ ความชื้น และแสงแดด
๕. ขลุ่ยเพียงออและขลุ่ยหลีบ การดูแลรักษาทำได้โดยเก็บไว้ในที่ที่กำหนด วางอย่างเป็นระเบียบ หรือแขวนในที่ที่กำหนดหรือเก็บใส่ถุง ควรระวังมิให้ขลุ่ยได้รับความร้อนจากแสงแดดและผงฝุ่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น